วันเสาร์ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2553

ฟุตบอลไทยต่างอย่างไรกับฟุตบอลนอก

ในปัจจุบัน กีฬาฟุตบอล อาจถือได้ว่าเป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก เพราะสามารถเข้าถึงได้ในทุกเพศทุกวัย อาจเป็นเพราะกติกาการแข่งขันที่ไม่ซับซ้อนเท่าไร บวกกับ เสน่ห์ของนักฟุตบอล รวมถึง เทคนิคความสวยงานในการควบคุมลูกกลมๆด้วยเท้าทั้งสองของนักฟุตบอล การที่ทุกคนสามารถรับชมการแข่งขันฟุตบอลทั่วทุกมุมโลกได้จากการถ่ายทอดสด หรือเทปบันทึกการแข่งขัน จากฟรีทีวี และเคเบิ้ลทีวี การแข่งขันฟุตบอลในโลกมีมากมายให้เลือกดูเลือกเชียร์

ประเทศไทย มีคนไม่น้อยที่ชื่นชอบในกีฬาประเภทนี้ มีทั้งผู้ที่ชอบเล่น ผู้ที่ชอบชม และผู้ที่ชอบเชียร์สโมสรต่างๆ การถ่ายทอดสดฟุตบอลจากต่างประเทศในประเทศไทยมีอย่างมากมายไม่ขาด ทำให้ผู้ที่ชื่นชอบฟุตบอลได้ติดตามชมและเชียร์สโมสรฟุตบอลที่ชื่นชอบ จนอาจทำให้หลงลืมการแข่งขันฟุตบอลในประเทศไปบ้าง การแข่งขันฟุตบอลในประเทศเรามีการจัดการแข่งขันขึ้นมากมายหลายถ้วย ซึ่งถ้วยที่ใหญ่ที่สุดในปัจจุบันก็คือ ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก เป็นการแข่งขันระดับสโมสรที่มีสโมสรเข้าร่วมการแข่งขันจำนวน 16 สโมสรด้วยกัน

ในอดีตการแข่งขันฟุตบอลในประเทศไทยอาจมีเหตุการณ์ ที่ทำให้แฟนบอลชาวไทยรู้สึกเบื่อหน่าย ไม่อยากที่จะติดตามการแข่งขัน เนื่องจากมีปัญหาเกิดขึ้นมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ภายในสนาม หรือภายนอกสนาม เช่น การไม่รับฟังคำตัดสินของกรรมการมีการรุมทำลายกรรมการที่ตัดสินทำให้ฝ่ายของตนเสียเปรียบ หรือไม่พอใจในคำตัดสิน จนทำให้เป็นข่าวดังมากมาย ซึ่งแตกต่างจากการแข่งขันฟุตบอลในต่างประเทศ ที่ผู้เล่นต้องมีความเคารพในคำตัดสินของกรรมการ ไม่ว่าฝ่ายของตนจะ เสียผลประโยชน์ หากผู้เล่นไม่ให้ความเคารพต่อคำตัดสินของกรรมการก็จะถูกลงโทษอย่างหนัก อีกทั้งการทีผู้เล่นเกิดการกระทบกระทั่งกันในเกมการแข่งขัน ผู้เล่นไม่รู้จักการให้อภัยไม่สามารถควบคุมอารมณ์ของตนเองได้ ทำให้เกิดปัญหา มีการเถียงกันในสนาม บางครั้งอาจมีการชกต่อยกัน หากเพื่อนร่วมทีม เข้ามาห้ามเหตุการณ์ก็จะไม่บานปลายแต่ หากเพื่อนร่วมทีมไม่สามารถควบคุมอารมณ์ตัวเองได้ด้วยแล้วก็จะกลายเป็นมวยหมู่ในสนามบอล อย่างที่มีคนเคยกล่าวไว้ว่า “บอลไทยไปมวยโลก” ที่กล่าวมาคือตัวอย่างของปัญหาภายในสนาม ปัญหาภายนอกสนามก็มีไม่ได้น้อยไปกว่ากัน สโมสรแต่ละสโมสร อาจมีผู้สนับสนุนไม่เพียงพอจนทำให้ ไม่มีเงินในการจ่ายค่าเหนื่อยให้กับผู้เล่นในสโมสร ทำให้เกิดการประท้วงของผู้เล่น รวมถึงการบริหารงานอย่างไม่เป็นระบบ ก็จะทำให้มีปัญหาต่างๆมากมายในสโมสร ปัญหาต่างๆเหล่านี้ล้วนแล้วแต่ทำให้ แฟนบอลชาวไทย ไม่ค่อยมีความนิยมในการติดตามการแข่งขันฟุตบอลไทย

ปัจจุบันสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ก็ได้มีการ ตั้งกฎกติกา รวมทั้งพัฒนายกระดับการแข่งขันให้สูงขึ้นเพื่อที่ แฟนบอลชาวไทย จะกลับมาให้ความสนับสนุน สโมสรฟุตบอลในประเทศ ซึ่งอาจทำให้การแข่งขันระดับชาติมีการพัฒนาได้ไปแข่งขันระดับโลกอย่างที่แฟนบอลตั้งเป้าหมายมาหลายสิบปี การสนับสนุนของ สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ก็ส่งผลเป็นอย่างดี เพราะในปัจจุบันแฟนบอลชาวไทยก็ กลับมาเชียร์ สโมสรฟุตบอล กันมากขึ้น มีการให้การสนับสนุนจากผู้สนับสนุนต่างๆมากมาย แฟนบอลมีสโมสรให้เชียร์เป็นของตัวเอง

การที่มีแฟนบอล ก็ส่งผลต่อเนื่องทำให้ผู้เล่นต่างๆมีกำลังใจ มีการพัฒนาฝีเท้า เพื่อให้เป็นที่ชื่นชมของแฟนบอล รวมไปถึงการที่สโมสรจะให้ค่าเหนื่อยเพิ่มมากขึ้น เมื่อมีความสามารถมากขึ้น ก็จะทำให้ประเทศไทยมีนักฟุตบอลที่มีความเป็นมืออาชีพมากขึ้น มีการแข่งขันเพื่อที่จะติดสโมสรชาติมากขึ้น ทำให้ทีมฟุตบอลทีมชาติไทยมีผู้เล่นที่มีความสามารถมากขึ้นโอกาสในการเข้าร่วมการแข่งขันรายการต่างๆก็จะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย

แต่ การที่เราจะหวังว่า สโมสรฟุตบอลของไทย จะเป็นที่ได้รับความนิยมอย่างมากมายไม่ว่าจะในประเทศหรือต่างประเทศ ก็ออกจะเกินความเป็นจริงไป เพราะ สโมสรที่มีคนรู้จักกันทั่วโลก ได้รับความนิยมอย่างมากมาย ก็ได้มีการก่อตั้งมาเป็นร้อยปี รวมทั้ง การแข่งขันของสโมสรในประเทศเหล่านั้นมีคุณภาพและ ความน่าติดตามอยู่ สโมสรมีเงินทุนที่จะซื้อผู้เล่นที่มีชื่อเสียงมาอยู่ในสโมสร ทำให้แฟนบอลซึ่งมีส่วนสำคัญเป็นอย่างมากในการพัฒนาสโมสร ให้ความสนับสนุนสโมสรอย่างเต็มใจ และติดตามเชียร์ไม่ว่า สโมสรจะแพ้หรือว่าชนะ ต่างจากแฟนบอลไทยที่ยังไม่เข้มแข็งเท่าที่ควร หากสโมสรเล่นดีประสบชัยชนะ แฟนบอลก็จะเชียร์เป็นกำลังใจ แต่หากวันใดผู้เล่น เล่นไม่ดีไม่สามารถเก็บชัยชนะได้ แฟนบอลก็จะโห่ และไม่พอใจกับผลงาน

การที่จะทำให้สโมสรมีความแข็งแกร่งมากขึ้นนั้น แฟนบอลเป็นส่วนสำคัญ จะต้องให้การสนับสนุนสโมสรไม่ว่าสโมสรจะตกอยู่ในสถานการณ์ใด การที่สโมสรสามารถ ปลูกฝังให้แฟนบอลมีความรักต่อสโมสรก็ จะทำให้สโมสรเหล่านั้นประสบความสำเร็จ แฟนบอลก็จะมีฟุตบอลที่มีคุณภาพให้ติดตามเชียร์กันต่อไป

ที่กล่าวมา การแข่งขันทุกการแข่งขัน ก็ ล้วนจะต้องมี การแพ้ การชนะ เกิดขึ้น ถ้าหากทุกคนเข้าใจ และยอมรับกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เข้าใจในความหมายของคำว่า รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย ก็จะทำให้ปัญหาต่างๆ อย่างที่เคยประสบมา ไม่เกิดขึ้น แฟนบอลก็จะไม่โห่ไล่ผู้เล่น ผู้เล่นก็จะไม่ทะเลาะกันในสนาม ถึงขั้นลงไม้ลงมือ ไม่มีการรุมทำร้ายกรรมการ ภาพพจน์ของการแข่งขันฟุตบอลในประเทศไทยก็ดีจะดีขึ้น

สุดท้ายนี้ ผู้เขียน ก็อยากจะเชิญชวนผู้อ่าน ร่วมกันเชียร์ฟุตบอลไทย หาสโมสรที่ใกล้บ้าน มีผู้เล่นที่ชื่นชอบ หรือมีการเล่นที่สนุก เพื่อเข้าไปดู ให้กำลังใจ กับสโมสร และผู้เล่น แต่ ผู้เขียนก็ไม่อยากจะให้ ผู้อ่าน เชียร์สโมสรในทางที่ผิด คือการเล่นพนัน เพราะ อาจจะทำให้ การดูฟุตบอลนั้นหมดความสนุก และผลร้ายต่างๆก็จะตามมา

มาร่วมกันเชียร์ฟุตบอลไทย เพื่อให้”บอลไทยไปบอลโลก” ไม่ใช่ “บอลไทยไปมวยโลก” อย่างเมื่อก่อนกันเถอะครับ

ความรู้ที่ข้าพเจ้ามี

ข้าพเจ้าคิดว่า ข้าพเจ้ามีความรู้ในเรื่องการท่องเที่ยวในประเทศไทยมากที่สุด จากการที่ ข้าพเจ้าเป็นคนที่รักการท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก แต่ในปัจจุบันเนื่องจากฐานะ และประสบการณ์ การท่องเที่ยวของข้าพเจ้าทั้งหมดจึงเกิดขึ้นภายในประเทศไทย ในการท่องเที่ยวสิ่งที่จำเป็นก็คือการวางแผนการเดินทาง ข้าพเจ้าคิดว่า ข้าพเจ้าทราบว่า ในฤดูกาลไหนเหมาะที่จะไปท่องเที่ยวที่ใด การท่องเที่ยวมีทั้งแบบไปคนเดียว ไปเป็นคู่ หรือไปเป็นกลุ่ม ในแต่ละสถานที่ท่องเที่ยวก็จะมีความเหมาะสมที่แตกต่างกันออกไป การไปเที่ยวแบบกลุ่มอาจต้องการ สถานที่ที่ใหญ่ สามารถส่งเสียงดังได้ บางสถานที่ต้องการความสงบจึงไม่เหมาะสม

การท่องเที่ยวของข้าพเจ้าจะเป็นแบบ ประหยัด การเลือกที่พักก็จำเป็นต่อการท่องเที่ยว เพราะในปัจจุบันแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียง ส่วนมากที่พักจะมีราคาสูงไปด้วย สำหรับนักท่องเที่ยวที่มีงบประมาณในการท่องเที่ยวไม่มากนัก ก็จำเป็นที่จะต้องหาที่พักที่มีราคาประหยัด แต่ก็ ต้องไม่แย่จนเกินไป มีความปลอดภัยในระดับหนึ่ง ส่วนในเรื่องการกินนั้นข้าพเจ้าค่อนข้างให้ความสำคัญ เพราะในแต่ละท้องถิ่นก็จะมี อาหารการกินที่ไม่เหมือนกัน ข้าพเจ้าจึงอยากจะลองให้รู้ ว่ารสชาติเป็นอย่างไร ถ้าเราต้องมาอยู่มากินแบบนี้ จะอยู่ได้หรือไม่ ซึ่งจากที่ข้าพเจ้าได้ลองแล้ว แต่ละท้องถิ่นก็มีอาหารบางอย่างทีแปลกจนกินไม่ได้ และ แปลกจนอร่อยอย่างที่ไม่เคยกินที่ไหนมาก่อน

การท่องเที่ยวก็จำเป็นต้องมีการวางแผน ต้องศึกษาว่าที่ที่จะไป มีสถานที่ท่องเที่ยวใดน่าสนใจบ้าง และหากไปไม่ได้ สถานที่ท่องเที่ยวที่ใกล้เคียงมีที่ใดบ้าง ระยะเวลาการเดินทางควรเป็นกี่วัน สัมภาระอุปกรณ์ต่างๆ ที่จำเป็นในการท่องเที่ยวก็ต้องมีการจัดเตรียมให้พร้อม ให้เหมาะกับรูปแบบการท่องเที่ยวที่เราจะไป เช่น เข้าป่าก็จำเป็นต้องพก ยากันยุง ไฟฉาย ไปน้ำตก ก็จำเป็นต้องมีชุดไปเปลี่ยน การแต่งกายก็ต้องให้เหมาะสมด้วย เช่น ไปทะเล ก็ ต้องมีชุดลงน้ำ ไปสถานที่สำคัญทางศาสนา หรือ สถานที่ที่เกี่ยวกับมหากษัตริย์ ก็จำเป็นต้องมีชุดที่เรียบร้อยเหมาะสม

ความรู้เรื่องการท่องเที่ยวของข้าพเจ้านั้น ได้มาจาก การที่ข้าพเจ้า พอที่จะได้เดินทางไปตามสถานที่ต่างๆ รวมทั้งการ ออกค่ายอาสาพัฒนา เพราะ ในการออกค่ายแต่ละครั้ง ก็จะมี วันได้ไปเที่ยว ชาวบ้านก็จะให้การต้อนรับ เป็นผู้นำทาง คอยบอกว่าในเขตนี้ จังหวัดนี้ มีที่ใดน่าท่องเที่ยวบ้าง รวมทั้งชักชวนให้แวะกลับมาเยี่ยมกลับมาเที่ยว กับเขา

การนำความรู้เรื่องการท่องเที่ยวไปใช้ ข้าพเจ้าคิดว่า สามารถนำไปใช้ ในการหาแหล่งท่องเที่ยวใหม่ๆ การที่จะทำให้ การท่องเที่ยวเหล่านั้น สมบูรณ์ มีความสุขสนุก มากยิ่งขึ้น สามารถจัดทริปการท่องเที่ยวที่เหมาะสมกับ ผู้ร่วมเดินทาง ไม่ว่าจะเป็น ครอบครัว เพื่อน หรือ แฟน ก็สามารถเที่ยวได้อย่างสนุกไม่ต่างกัน

วันศุกร์ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2553

v

กฎกระทรวงฉบับที่ 33 และฉบับที่41

ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522

นายฤทธิพงษ์ เลิศลักษณะโสภณ

Acting purchasing manager,MIB Holding CO.,LTD. Littipong_l@advanceagro.com


1 .บทนำ

ในปัจจุบันมีการก่อสร้างต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย การขยายตัวของเศรษฐกิจ ทำให้เมืองใหญ่ขึ้นการขยายตัวของเมืองกว้างออกไป การก่อสร้างจึงเป็นส่วนสำคัญในการจะทำให้เกิดการขยายเมือง ทั้งในส่วนของโครงสร้างพื้นฐานของประเทศเพื่อเป็นสิ่งอำนวยความสะดวก หรือเพื่อบริการประชากรที่จะเพิ่มมากขึ้น อาคารที่พักอาศัยที่ต้องก่อสร้างเพิ่มขึ้นเพื่อรองรับประชากรที่จะย้ายเข้ามาในเมือง อาคารสำนักงานต่างๆเกิดขึ้นเพื่อใช้เป็นที่ตั้งของ บริษัท ห้าง ร้าน ซึ่งในการทำงานก่อสร้าง หรือการใช้อาคาร ก็จำเป็นที่จะต้องมีกฎหมายที่จะมาควบคุม เพื่อ การก่อสร้างเป็นไป ในแนวทางที่ถูกต้อง ตำแหน่งที่ตั้งที่เหมาะสม สามารถจัดแบ่งโซนต่างๆ ของอาคารในพื้นที่ได้ การใช้อาคาร เป็นไปอย่างถูกต้อง เกิดความเหมาะสมปลอดภัย ทั้งนี้จึงมีกฎหมายต่างๆเกี่ยวกับการก่อสร้าง ทั้งในช่วงดำเนินการก่อสร้าง การใช้ประโยชน์ของอาคาร หรือ ตำแหน่งที่ตั้งของอาคาร อย่างมากมาย ซึ่งแต่ละกฎหมายก็ มีจุดประสงค์ที่ไม่เหมือนกัน มีทั้งเพื่อความถูกต้อง ความเหมาะสม และความปลอดภัยในการก่อสร้าง การใช้ประโยชน์จากตัวอาคาร ในส่วนกฎหมายที่จะกล่าวถึงในบทความนี้ คือกฎกระทรวงฉบับที่ 33 และกฎกระทรวงฉบับที่ 41 ซึ่ง กฎกระทรวงทั้งสองฉบับนี้ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522

กฎหมายอาคารถือว่าเป็นกฎหมายมหาชน มุ่งเน้นเพื่อรักษาผลประโยชน์ ความสงบสุข ความปลอดภัย และความเป็นระเบียบเรียบร้อยของสังคม โดนจะให้ความสำคัญในเรื่องงานอาคารที่มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยี ความเจริญเติบโตของบ้านเมือง การขยายตัวทางเศรษฐกิจและปัจจัยอื่นๆอีกมากมาย ดังนั้นพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ซึ่งเป็นกฎหมายที่รวมเอา พระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2479 และพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างในเขตเพลิงไหม้ พ.ศ. 2476 มาไว้รวมกันในฉบับนี้ พร้อมทั้งปรับปรุงแก้ไขให้เกิดความเหมาะสม ซึ่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522ถือเป็นกฎหมายแม่บทของกฎหมายการควบคุมการก่อสร้างทั้งหมด ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งได้มีการแก้ไข เพิ่มเติมอีก 3 ครั้ง ในปี พ.ศ. 2535 , พ.ศ. 2543 และ พ.ศ. 2550

2. กฎกระทรวงฉบับที่ 33

กฎกระทรวงฉบับที่ 33 ซึ่งออกมาเมื่อปี พ.ศ. 2535 โดยหลักอาศัยความในมาตรา 5 และ 8 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคารปี พ.ศ. 2522 มีความเพื่อประโยชน์แห่งความมั่นคงแข็งแรง ความปลอดภัยในการป้องกันอัคคีภัย การสาธารณสุข การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม การผังเมือง การสถาปัตยกรรม และการอำนวยความสะดวกแก่การจราจร ในหมวดที่ 1 ได้กล่าวถึง ลักษณะ ของอาคาร เนื้อที่ว่างของภายนอกอาคารและแนวอาคาร ได้มีข้อกำหนดต่างๆ เกี่ยวกับอาคารสูง หรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษ ไว้ในส่วนต่างๆ มากมาย สามารถสรุปได้ตามความว่า

ตารางที่ 1 กฎกระทรวงฉบับที่ 33 หมวดที่ 1 ว่าด้วยเรื่องลักษณะของอาคาร เนื้อที่ว่างภายนอกอาคาร และแนวอาคาร

ข้อที่

เรื่อง

2

(วรรค1)

- อาคารสูงหรืออาคารใหญ่พิเศษ พื้นที่ไม่เกิน 30,000 ตร.ม.

-ด้านใดด้านหนึ่งของอาคารต้องมีความกว้างไม่น้อยกว่า 12ม.

-ด้านที่ติดถนน ต้อง กว้างไม่น้อยกว่า 12 ม.

2

(วรรค1)ต่อ

- ติดถนนเขตทางไม่น้อยกว่า 10 ม. เชื่อมต่อกับถนนเขตทางไม่น้อยกว่า 10 ม.

2

(วรรค2)

- อาคารสูงหรืออาคารใหญ่พิเศษ พื้นที่เกิน 30,000 ตร.ม.

-ด้านใดด้านหนึ่งของอาคารต้องมีความกว้างไม่น้อยกว่า 12ม.

-ติดถนนเขตทางไม่น้อยกว่า 18ม. เชื่อมต่อกับถนนเขตทางไม่น้อยกว่า 18ม.

-ด้านที่ติดถนน ต้อง กว้างไม่น้อยกว่า 12ม.

3

อาคารสูงหรืออาคารใหญ่พิเศษ ต้องให้มีถนนที่มีผิวจราจรกว้าง ไม่น้อยกว่า 6 ม.ปราศจากสิ่งปกคลุมโดยรอบอาคาร เพื่อให้รถดับเพลิงสามารถเข้าออกได้โดยสะดวก

ข้อที่

เรื่อง

4

ขอบเขตนอกสุดของอาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษ ไม่ว่าจะอยู่ในระดับเหนือพื้นดินหรือต่ำกว่า ระดับพื้นดินต้องห่างจากเขตที่ดินของผู้อื่นหรือถนนสาธารณะ ไม่น้อยกว่า 6 ม. ทั้งนี้ไม่รวมถึงในส่วนของฐานราก

5

อัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมกันทุกชั้นของอาคารต่อพื้นที่ดินที่ใช้เป็นที่ตั้งอาคาร ต้องไม่เกิน 10 ต่อ 1

6

1. อาคารที่อยู่อาศัยต้องมีที่ว่างไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ของพื้นที่ที่ใช้เป็นที่ตั้งอาคาร

2. อาคารพาณิชย์ โรงงาน อาคารสาธารณะ และอาคารอื่นๆที่ไม่ได้ใช้เป็นที่อยู่อาศัยต้องมีที่ว่างไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของพื้นที่ที่ใช้เป็นที่ตั้งอาคาร

7

อาคารสูงหรืออาคารใหญ่พิเศษที่มีพื้นที่ของอาคารต่ำกว่าระดับพื้นดิน ต้องมีระบบระบายอากาศ กับระบบบำบัดน้ำเสีย และการระบายน้ำทิ้งแยกเป็นอิสระจากระบบระบายอากาศ กับระบบบำบัดน้ำเสีย และการระบายน้ำทิ้งส่วนเหนือพื้นดิน

8

อาคารสูงหรืออาคารใหญ่พิเศษที่มีพื้นที่ของอาคารต่ำกว่าระดับถนนหน้าอาคาร ตั้งแต่ 3ชั้นลงไป หรือ 7 เมตรลงไป ต้องจัดให้มี ระบบลิฟท์ ,บันไดหนีไฟชั้นล่างสุดสู่พื้นอาคารได้โดยสะดวก

จะเห็นได้จากข้อต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้น มีการกำหนดสิ่งต่างๆ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการใช้งานอาคาร กล่าวคือ ข้อกำหนดในแต่ละข้อมุ่งเน้นเพื่อให้เกิดความปลอดภัย และ อำนวยความสะดวกหากเกิดเหตุอัคคีภัย รถดับเพลิง เจ้าหน้าที่พนักงาน ก็จะสามารถเข้าปฏิบัติหน้าที่ได้อย่าง สะดวก รวดเร็ว และ มีปริมาณเพียงพอ ต่อความต้องการ ซึ่งถูกกำหนดโดยขนาดของอาคาร และชนิดของอาคาร การ เว้นพื้นที่ของอาคาร หรือ การกำหนดทางเชื่อมต่อกับถนนสาธารณะ จะทำให้รถดับเพลิง สามารถเข้ามาควบคุมเหตุการณ์ได้ทัน ไม่ทำให้เกิดความเสียหายมากนัก หรือสามารถลดความเสียหาย จากหนักให้กลายเป็นเบาได้บ้าง ซึ่งในแต่ละประเภท ของอาคารก็จะมีข้อกำหนดที่แตกต่างกันออกไป ยกตัวอย่างเช่น ในส่วนของอาคารที่พักอาศัย อาจจำเป็นต้องมีพื้นที่ว่างมากกว่าเพื่อให้ ผู้คนที่พักอาศัย สามารถออกมาจากอาคารเพื่อรวมพลเมื่อเกิดเหตุอัคคีภัย

ในส่วนของ ข้อ7 และ 8 เป็นข้อกำหนดที่จะเน้นให้ ผู้คนในอาคารสามารถ อพยพออกมาจากอาคารที่เกิดเหตุได้ อย่างทันท่วงที ลดการสูญเสียที่อาจเกิดขึ้น การแยกระบบต่างๆในส่วนของชั้นที่อยู่ต่ำกว่าระดับพื้นดิน ออกจาก ระบบในส่วนของชั้นที่เหนือพื้นดินขั้นไปนั้น เพื่อให้ สะดวกในการควบคุม และให้เกิดความปลอดภัยหากเกิดเหตุการณ์ต่างๆ

ในกฎกระทรวงฉบับนี้ นอกจากหมวดที่1 ที่กล่าวไปข้างตันแล้วยังประกอบด้วยหมวดต่างๆ อีก 5 หมวดด้วยกัน

หมวดที่ 2 ระบบระบายอากาศ ระบบไฟฟ้า และ ระบบป้องกันเพลิงไหม้

หมวดที่ 3 ระบบบำบัดน้ำเสีย และระบบระบายน้ำทิ้ง

หมวดที่ 4 ระบบประปา

หมวดที่ 5 ระบบกำจัดขยะมูลฝอย

หมวดที่ 6 ระบบลิฟท์

ทั้งหมดนี้ก็เพื่อมุ่งเน้นในเรื่องต่างๆ ทั้งระบบสาธารณูปโภค ความปลอดภัยของอาคาร สิ่งแวดล้อม การใช้พลังงาน การลดความเสียหาย หากเกิดเหตุการณ์ ไม่คาดคิดเช่น อัคคีภัย

3. กฎกระทรวงฉบับที่ 41

กฎกระทรวงฉบับที่ 41 ซึ่งออกมาเมื่อปี พ.ศ. 2537 โดยหลักอาศัยความในมาตรา 5 และ 8 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคารปี พ.ศ. 2522 กฎกระทรวงฉบับนี้ ถูกกำหนดออกมาเพื่อยกเลิกข้อ 5 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2517) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2479 กฎกระทรวงฉบับนี้ ถูกกำหนดออกมาเพื่อควบคุมลักษณะของอาคารจอดรถ ซึ่งในปัจจุบันที่จอดรถมักมีจำนวนจำกัด และอาคารจอดรถสมัยใหม่มีการติดตั้งระบบยกรถขึ้นลงระหว่างชั้นของอาคารด้วยลิฟต์หรือระบบเคลื่อนย้ายรถด้วยเครื่องจักร การออกกฎหมาย ฉบับนี่ออกมาก็เพื่อความมั่งคงแข็งแรง ความปลอดภัย และการอำนวยความสะดวกแก่การจราจร ซึ่งสามารถสรุปเนื้อความว่า

ตารางที่ 2 กฎกระทรวงฉบับที่ 41 ว่าด้วยเรื่องลักษณะของอาคาร เนื้อที่ว่างภายนอกอาคาร และแนวอาคาร

ข้อที่

เรื่อง

2

1. ที่จอดรถแบบขนาน ต้องมีขนาดไม่น้อยกว่า 2.4 ม.x 6.0 ม.

2. ที่จอดรถทำมุมน้อยกว่า 30 องศา ต้องมีขนาดไม่น้อยกว่า 2.4 ม.x 6.0 ม.

ข้อที่

เรื่อง

2 (ต่อ)

3. ที่จอดรถทำมุมมากกว่า 30 องศา ต้องมีขนาดไม่น้อยกว่า 2.4 ม.x 5.5 ม.

4. ที่จอดรถแบบตั้งฉาก ต้องมีขนาดไม่น้อยกว่า 2.4 ม.x 5.0 ม.

3

ที่จอดรถแต่ละคัน ต้องมีเครื่องหมายแสดงลักษณะ และขอบเขตของที่จอดรถไว้ให้ปรากฏบนพื้นและมีทางเดินรถเชื่อมต่อโดยตรงกับทางเข้าออกและที่กลับรถ

4

(วรรค1)

จอดรถ ทางเดินรถ ทางลาดขึ้นลงขอรถมีระยะความสูงระหว่างพื้นจอดรถกับส่วนที่ต่ำสุดของชั้นที่อยู่ถัดไปของอาคาร ตองไม่น้อยกว่า 2.10 ม.

4

(วรรค2)

- พื้นที่ ที่ใช้จอดรถต่างระดับกันจะเหลื่อมกันได้ไม่เกิน 1.00 ม.

- เฉพาะส่วนที่เหลื่อมกันจะมีความสูงน้อยกว่า 2.10 ม. ก็ได้

5

- อาคารจอดรถซึ่งติดตั้งระบบยกรถขึ้นลงโดยลิฟต์จะต้องมีระยะทางเดินรถจากปากทางเข้าถึงลิฟต์ไม่น้อยกว่า 2.1 เมตร และจะไม่มีทางลาดขึ้นลงของรถระหว่างชั้นก็ได้

- กำหนดให้ ลิฟต์ 1 ตัวต่อที่จอดรถ 30 คัน แต่ต้องไม่น้อยกว่า 2 เครื่อง ต่ออาคารหนึ่งหลัง และห้ามใช้เป็นลิฟต์โดยสาร

6

1. อาคารจอดรถ ที่ใช้ระบบย้ายรถด้วยเครื่องจักร ต้องมีระยะทางเดินรถจากปากทางเข้าถึงอาคารไม่น้อยกว่า 20 ม.

ข้อที่

เรื่อง

6 (ต่อ)

2. พื้นหรือผนังอาคารต้องอยู่ห่างจากเขตที่ดินของผู้อื่นและถนนสาธารณะ

-อาคารสูงมากกว่า 23ม. ห่าง 6ม.

-อาคารสูงน้อยกว่า 23ม. ห่าง 3ม.

7

อาคารที่ติดตั้งระบบเคลื่อนย้ายรถด้วยเครื่องจักร ต้องได้รับการออกแบบ ควบคุมการติดตั้ง และตรวจสอบความปลอดภัยจาก วิศวกรควบคุมประเภทสามัญขึ้นไป

ในส่วนต่างๆของข้อกำหนดนี้ก็เพื่อประโยชน์ ในการออกแบบให้เกิดความสะดวกในการใช้สอย และ ความปลอดภัยให้มีเพิ่มมากขึ้น

4. สรุป

กฎกระทรวง ทั้งสองฉบับนี้ ถูกกำหนดขึ้นเพื่อประโยชน์ต่างๆของผู้ใช้งาน ทั้งเพื่อเพิ่มความสะดวกสบาย ความปลอดภัย พร้อมทั้ง กำหนดกฎเกณฑ์ เงื่อนไข วิธีการตรวจสอบ วิธีการใช้งานของอาคารให้เกิดความถูกต้อง

กิตติกกรมประกาศ

สำหรับบทความฉบับนี้ ผู้เขียนบทความขอขอบคุณ อาจารย์ทุกๆท่าน และบิดา มารดา เพื่อนๆ ที่ให้การสนับสนุนในการศึกษากับโครงการนี้

เอกสารอ้างอิง

สำนักควบคุมและตรวจสอบอาคาร , พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522

นายฤทธิพงษ์ เลิศลักษณะโสภณ

วศ.บ. (วิศวกรรมโยธา)

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า

เจ้าคุณทหารลาดกระบัง